ยีนด้อยคืออะไร?

ความหมายของยีนด้อย

ยีนด้อย (Recessive gene)

แอลลีลด้อย (Recessive allele) คือ แอลลีลที่สามารถแสดงลักษณะที่ยีนนั้นควบคุมอยู่ได้ก็ต่อเมื่อยีนนั้นมีแอลลีลเป็นแอลลีลด้อยทั้งคู่บนโครโมโซม
แอลลีลด้อยมักเขียนแทนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์เล็ก เช่น b, n, t หรือหากแทนแอลลีลที่เป็นคู่ในยีนจะเขียนเป็น bb, nn, tt

ยีนด้อย (Recessive gene) คือ ยีนที่ต้องมีรูปแบบเป็นแอลลีลด้อยทั้งสองแอลลีลอยู่บนคู่ของโครโมโซม จึงจะสามารถแสดงลักษณะที่ยีนนั้นควบคุมอยู่ออกมาได้ โดยยีนด้อยจะแสดงออกน้อยกว่ายีนเด่น  เนื่องจากจะสามารถแสดงลักษณะนั้นออกมาได้ก็ต่อ เมื่อเป็นโฮโมโลกัสยีน(Homologous gene) เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ยีนลักษณะเส้นผม  ผมหยิกคือยีนเด่น (T) ผมตรงคือยีนด้อย (t)

ผู้ที่มีผมตรงจะต้องมีรูปแบบยีนเป็นแบบ tt  คือมีแอลลีลด้อย 2 แอลลีลเท่านั้น

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 30, 2017   ยีน Gene   0 Comment Read More

ยีนเด่นคืออะไร?

ความหมายของยีนเด่น

แอลลีลเด่น (Dominant allele)  คือ แอลลีลที่สามารถแสดงลักษณะที่ยีนนั้นควบคุมการแสดงออกอยู่ออกมาได้ ไม่ว่าจะอยู่ร่วมกับแอลลีลเด่นเหมือนกัน หรืออยู่ร่วมกับแอลลีลด้อยในยีนนั้น

หมายความว่า แอลลีลเด่น (Dominant allele)  จะสามารถแสดงออกได้ทั้งในสภาพที่เป็นโฮโมไซกัสยีน(Homozygous gene)  และเฮเทอโรไซกัสยีน(Heterozygous gene)

แอลลีลเด่น มักเขียนสัญลักษณ์แทนด้วยตัวอักษรภาษอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น B, N, T หรือหากแทนแอลลีลที่เป็นคู่ในยีนจะเขียนเป็น BB, NN, TT

ยีนเด่น (Dominant gene) หมายถึง ยีนที่ประกอบด้วยแอลลีลเด่นอย่างน้อย 1 แอลลีลเด่นบนคู่ของโครโมโซม ซึ่งแอลลีลเด่นสามารถแสดงลักษณะนั้นออกมาได้เสมอแม้ว่าจะอยู่คู่กับแอลลีลด้อยก็ตาม

ทำให้ยีนเด่นควบคุมการแสดงลักษณะออกมาในรุ่นต่อไปได้เสมอ
ตัวอย่างเช่น ยีนลักษณะเส้นผม  ผมหยิกคือยีนเด่น (T) ผมตรงคือยีนด้อย (t)

ผู้ที่จะมีผมหยิกได้นั้นจะต้องมีแอลลีลเด่นอย่างน้อย  1 แอลลีลเด่นในยีน คือผู้ที่มีรูปแบบยีน TT และ Tt เป็นต้น

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 29, 2017   ยีน Gene   1 Comment Read More

จีโนไทป์ (Genotype) คืออะไร?

จีโนไทด์คืออะไร
จีโนไทป์ คือ รูปแบบของยีนในสิ่งมีชีวิต  ซึ่งยีนแต่ละยีนประกอบด้วยแอลลีล(Allele) ที่อยู่เป็นคู่
โดยแอลลีลหนึ่งได้รับมาจากพ่อ  และอีกแอลลีลหนึ่งได้รับมาจากแม่
จีโนไทป์คือสิ่งที่กำหนดลักษณะที่แสดงออกหรือฟีโนไทป์(phenotype) โดยบางฟีโนไทป์ถูกกำหนดโดยยีนเพียงยีนเดียว(หรือ 2แอลลีล)

ในขณะที่หลายฟีโนไทป์ถูกกำหนดโดยยีนจำนวนหลายยีน เช่น ส่วนสูง
จีโนไทป์อาจเขียนสัญลักษณ์แทนในแต่ละยีนได้หลายแบบ เช่น
– จีโนไทป์ของยีน 1 คู่(2 แอลลีล) อาจเขียนเป็น SS, Ss หรือ ss
– จีโนไทป์ของยีน 3 คู่(6 แอลลีล) อาจเขียนเป็น SSRRYY, SsRrYy หรือ ssrryy

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 28, 2017   ยีน Gene   0 Comment Read More

ฟีโนไทป์คืออะไร?

ฟีโนไทป์ หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกภายนอก ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ถูกกำหนดโดยยีนที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ เช่น ส่วนสูง สีผม สีตา เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้รวมถึงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตด้วยเช่นกัน บางครั้งเรียกว่า extended phenotype ยกตัวอย่างเช่น การอพยพย้ายถิ่นและการสร้างรังของนก ซึ่งแท้จริงแล้วพันธุกรรมมีอิทธิพลอย่างมาก

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 28, 2017   ยีน Gene   1 Comment Read More

แอลลีลคืออะไร?

แอลลีลคืออะไร?

แอลลีล (Allele)
ยีนในตำแหน่งเดียวกันบนโฮโมโลกัสโครโมโซมแต่ละคู่ (Homologous chromosome) จะควบคุมลักษณะเดียวกัน แอลลีลคือสิ่งที่ประกอบเป็นยีน และทำให้ยีนมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละคน ลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏจะขึ้นอยู่กับแอลลีลในแต่ละยีนโดยทั่วไปยีนจะมีแอลลีลอยู่ 2 รูปแบบ เช่น ยีนที่ควบคุมลักษณะคางบุ๋มมีแอลลีล 2 รูปแบบ คือ แอลลีลที่แสดงลักษณะคางบุ๋ม สมมมติให้เป็น N และแอลลีลที่แสดงลักษณะคางไม่บุ๋ม สมมติให้เป็น n

ดังนั้น

  • รูปแบบของคู่ยีนที่ควบคุมลักษณะคางบุ๋ม หรือจีโนไทป์(genotype) จึงมีได้ 3 แบบ คือ NN, Nn และ nn
  • ส่วนลักษณะที่แสดงออก เรียกว่าฟีโนไทป์(Phenotype) ในกรณีนี้มีได้ 2 แบบ คือลักษณะคางบุ๋ม และลักษณะคางไม่บุ๋ม

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 28, 2017   ยีน Gene   3 Comments Read More

นิวคลีโอไทด์ คืออะไร?

Nucleotide

พอลีนิวคลีโอไทด์ (Polynucleotides) แต่ละสายประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) มาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ซึ่งนิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วย

  • น้ำตาลเพนโตส (Deoxyribose sugar) มีโครงสร้างเป็นคาร์บอน 5 อะตอม
  • หมู่ฟอสเฟต (Phosphate group) ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน
  • ไนโตรเจนเบส (Nitrogenous base) 4 ชนิด ได้แก่ อะดีนีน(Adenine, A), ไทมีน(Thymine, T), ไซโทซีน(Cytosine, C), และกัวนีน(Guanine, G)

นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยเชื่อมต่อกันโดยพันธะระหว่างหมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์หนึ่ง กับคาร์บอนตำแหน่งที่ 3 ของน้ำตาลของอีกนิวคลีโอไทด์หนึ่ง

โครงสร้างของสายพอลีนิวคลีโอไทด์เป็นการต่อสลับกันระหว่างหมู่ฟอสเฟตกับน้ำตาล โดยสายหนึ่งมีทิศทางจากปลาย 5’ ไปยังปลาย 3’ ส่วนพอลีนิวคลีโอไทด์อีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 3’ ไปยัง 5’ ดังนั้นเมื่อเกิดการแยกตัวของดีเอ็นเอทั้ง 2 สาย ส่วนที่แยกออกมาจึงมีทิศทางต่างกัน

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 24, 2017   ยีน Gene   0 Comment Read More

โครโมโซมคืออะไร?

โครโมโซมทำหน้าที่อะไร

โครโมโซม คือ สารพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์
เป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ เช่น สีตา สีผม ลักษณะเส้นผม ลักษณะดวงตา สีผิวและควบคุมการทำงานของร่างกาย โครโมโซมอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย ในคนทั่วไปแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมอยู่ 23 คู่ หรือ 46 แท่ง

ลักษณะของโครโมโซม
โครโมโซมแต่ละโครโมโซมประกอบด้วยโครมาทิด(Chromatid) 2 โครมาทิดที่เหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัว โครมาทิดทั้งสองมีส่วนที่ติดกันอยู่ เรียกว่า เซนโทรเมียร์(Centromere)
โครโมโซมในเซลล์ร่างกายจะมีรูปร่างลักษณะที่เหมือนกันเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome) สำหรับลักษณะรูปร่างของโครโมโซมจะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเซนโทรเมียร์ หรือไคนีโตคอร์ (Chinetochore) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนหลักสำคัญการเคลื่อนไหวของโครโมโซมภายในเซลล์

ชนิดของโครโมโซม

โครโมโซมในร่างกายของมนุษย์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ออโตโซม (Autosome) เป็นโครโมโซมที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ของร่างกาย ในเซลล์ของเพศชายและเพศหญิงจะมีออโตโซมเหมือนกัน มีจำนวน 22 คู่ และมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส

2. โครโมโซมเพศ (Sex chromosome) เป็นโครโมโซมที่ทำหน้าที่ควบคุม หรือกำหนดเพศ มีจำนวน 1 คู่ คือโครโมโซมคู่ที่ 23 มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โดยในเพศหญิงมีโครโมโซมเพศแบบ XX และในเพศชายมีโครโมโซมเพศแบบ XY

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 24, 2017   ยีน Gene   2 Comments Read More

พันธุกรรม คือ อะไร?

ความหมายของพันธุกรรมพันธุกรรม(Heredity) หมายถึง  การถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง เรียกอีกอย่างว่า กรรมพันธุ์  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนแต่ละคนแตกต่างกันออกไป เช่น การมีลักยิ้มเหมือนพ่อ การมีดวงตาสีน้ำตาลเหมือนแม่ เป็นต้น พันธุกรรมเหล่านี้ถูกควบคุมโดยหน่วยที่เรียกว่า ยีน (gene) ซึ่งยีนแต่ละยีนควบคุมการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมลักษณะ หนึ่ง
โดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel)  เป็นผู้ค้นพบและได้อธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม(Mendel’s Laws) ไว้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 22, 2017   ยีน Gene   3 Comments Read More

Epigenetic คืออะไร?

อะไรคือ Epigenetic

แต่ละเซลล์ในร่างกายกว่า 200 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ผิวหนัง เซลล์กล้ามเนื้อ หรือเซลล์ตับมีรหัสพันธุกรรมที่เหมือนกัน แต่เซลล์แต่ละขนิดทำหน้าที่แตกต่างกันได้ คำถามคือ เพราะอะไร?

ฝาแฝดแท้ที่เกิดมามี DNA เหมือนกันทุกประการ เหตุใดพอโตขึ้นจึงมีความแตกต่างกันได้มาก แม้ว่าจะเป็นลักษณะที่ยีนมีส่วนสำคัญในการควบคุมก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น แฝดพี่อาจเป็นโรคหัวใจเมื่ออายุ 45ปี ในขณะที่แฝดน้องยังมีร่างกายแข็งแรงและยังสามารถวิ่งมาราธอนได้ คำตอบอธิบายได้จาก “Epigenetics”

Epigenetics คือการศึกษาการทำปฏิกิริยาของ DNA กับสารโมเลกุลเล็กๆ ในเซลล์ ซึ่งส่งผลให้มีการปิดหรือเปิดยีนบางยีนให้ทำงานหรือไม่ทำงานได้ หากเปรียบ DNA เป็นตำราอาหาร โมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดว่าควรใส่อะไรลงไปก่อนหลัง

ยีน และ DNA จะแสดงออกได้ก็ต่อเมื่อมีการอ่านและถอดรหัสยีนออกมาเป็น RNA ซึ่ง RNA จะถูกแปลรหัสโดยไรโบโซม นำไปสู่การสร้างโปรตีน ซึ่งโปรตีนเป็นตัวที่กำหนดลักษณะและหน้าที่ของแต่ละเซลล์ epigenetics สามารถทั้งช่วยส่งเสริมหรือรบกวนกระบวนการแปลรหัสยีนนี้ได้ โดยวิธีการรบกวนกระบวนการแปลรหัสที่พบบ่อยที่สุด คือ มีการติดแทค/ป้ายบน DNA และโปรตีนที่เป็นแกนให้ DNA พันรอบ ซึ่งแทคเหล่านี้เราเรียกว่า epigenome แทคบางตัวนี้ เช่น methyl group ยับยั้งการแสดงออกของยีน โดยรบกวนการถอดรหัสยีน หรือทำให้ DNA พันรอบโปรตีนแน่นขึ้น การแปลรหัสจึงเกิดได้ยากขึ้น จะเห็นว่ายีนยังคงมีอยู่ แต่ไม่สามารถแสดงออกได้ ในทางตรงกันข้ามการส่งเสริมการแปลรหัสยีน เกิดจากแทคบางตัวทำให้ DNA พันรอบโปรตีนแบบหลวมๆ การแปลรหัสยีนจึงเกิดขึ้นได้ง่าย ทำให้การสร้างโปรตีนของยีนนั้นเกิดได้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทาง epigenetics นี้ จะคงอยู่ แม้จะมีการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ ทำให้มันส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตได้ตั้งแต่เกิดจนตาย

สิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร การได้รับสารเคมีหรือยา ล้วนส่งผลต่อแทคเหล่านี้ โดยการเปลี่ยนแปลงทาง epigenetics จะนำไปสู่การเกิดโรคภัยต่างๆ ได้ เช่น ไปปิดสวิชต์ยีนที่สร้างโปรตีนยับยั้งการโตของเนื้องอก (tumor suppressing protein) การเปลี่ยนแปลงทาง epigenetics ที่ถูกชักนำโดยสิ่งแวดล้อมนี้จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมฝาแฝดแท้ที่มี DNA เหมือนกันทุกประการถึงเติบโตขึ้นมาแตกต่างกัน เมื่อฝาแฝดโตขึ้น epigenetics ของแต่ละคนมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งส่งผลต่อความเสื่อมของร่างกาย แนวโน้มในการเกิดโรคต่างๆ หรือแม้แต่ประสบการณ์ทางสังคมก็ส่งผลต่อ epigenetics ได้ การทดลองพบว่าลูกหนูที่พ่อแม่ละเลยไม่เลี้ยงดู ยีนที่เกี่ยวกับการจัดการความเครียดจะถูกปิดสวิชต์ไป โดยการเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถถูกถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้ ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ของคุณเคยประสบ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงวัยเด็กหรือตอนโต สามารถกำหนดEpigenomeของคุณได้ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงEpigenetics จะคงอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะคงอยู่อย่างถาวร ไลฟ์สไตล์ที่สมดุลระหว่าง อาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย การหลีกเลี่ยงสารเคมีต่างๆ สามารถสร้าง healthy epigenome ที่ดีได้ในระยะยาว

 

ดังนั้น epigenetic change สามารถอธิบาย พัฒนาการของมนุษย์,การแก่ตัว, มะเร็ง, โรงหัวใจ, ภาวะเจ็บป่วยทางจิต และภาวะอื่นๆ ได้

 

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 22, 2017   ยีน Gene   0 Comment Read More

DNA คืออะไร?

ดีเอ็นเอคืออะไร

DNA ประกอบด้วยน้ำตาล ฟอสเฟต และเบสทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ A(อะดินีน) T(ไทมีน) C(ไซโตซีน) G(กวานีน) ซึ่งเบสทั้งสี่นี้จะเรียงสลับกันไปเรื่อยๆ ในสาย DNA กลายเป็นรหัส เรียกว่า รหัสพันธุกรรม (genetic code) ซึ่งแต่ละเซลล์ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นเซลล์ผิวหนัง เซลล์กล้ามเนื้อ หรือเซลล์ตับมีรหัสพันธุกรรมที่เหมือนกัน แต่เซลล์แต่ละชนิดจะทำหน้าที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากแต่ละเซลล์มีการใช้ยีนเพียงบางยีนเท่านั้น โดยยีนแต่ละยีนจะแสดงออกในเซลล์ที่แตกต่างกันออกไป โดยลำดับการเรียงตัวของเบสเหล่านี้นี่เองที่จะเป็นตัวกำหนดความเป็นคุณ เปรียบเทียบยีนเหมือนสูตรอาหารในการสร้างโปรตีนแต่ละชนิด ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของคุณเอง โดยสูตรอาหารเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น บางคนมีผมหยักศกเหมือนพ่อ นั่นก็แสดงว่าคนๆนั้นได้รับยีนที่ควบคุมเซลล์รากผม (hair follicle cell) ให้สร้างเส้นผมที่มีลักษณะหยักศกจากพ่อนั่นเอง ยีนเป็นคนออกคำสั่งว่าเซลล์ต่างๆ จะต้องทำงานอย่างไร และร่างกายจะต้องมีการแสดงออกลักษณะใดออกมา ซึ่งในแต่ละเซลล์มีการเปิดปิดยีนแต่ละยีนแตกต่างกันออกไปเพื่อให้เซลล์แต่ละเซลล์ได้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน และDNA สายยาวๆที่ประกอบด้วยยีนเหล่านี้ จะขดรวมกันเป็นโครโมโซม

  ชัญญาพัชญ์ เสนาดี   ส.ค. 22, 2017   ยีน Gene   3 Comments Read More